Wat Phra Phutthabat Tak Pha - Pa Sang District, Lamphun

Adresse: FW3C+VG5 Wat Phra Phutthabat Tak Pha, Makok, Pa Sang District, Lamphun 51120, Thaïlande.
Téléphone: 53005200.
Site web: facebook.com.
Spécialités: Temple bouddhiste, Attraction touristique.
Autres données d'intérêt: Entrée accessible en fauteuil roulant, Parking accessible en fauteuil roulant.
Avis : Cette entreprise a 1115 avis sur Google My Business.
Avis moyen: 4.5/5.

Emplacement de Wat Phra Phutthabat Tak Pha

Le Wat Phra Phutthabat Tak Pha est un temple bouddhiste situé en Thaïlande, plus précisément à l'adresse suivante : FW3C+VG5 Wat Phra Phutthabat Tak Pha, Makok, Pa Sang District, Lamphun 51120, Thaïlande. Il s'agit d'une attraction touristique à ne pas manquer, que vous soyez bouddhiste ou simplement curieux de découvrir la culture et l'histoire thaïlandaises.

Le temple est facilement accessible en fauteuil roulant, ce qui en fait un lieu accessible à tous. Il dispose également d'un parking accessible en fauteuil roulant, ce qui facilite l'accès au temple pour tous les visiteurs.

Le Wat Phra Phutthabat Tak Pha est célèbre pour ses nombreuses spécialités, qui attirent des visiteurs du monde entier. En tant que temple bouddhiste, il est évidemment un lieu de culte et de prière pour les bouddhistes, mais il est également ouvert aux visiteurs de toutes les confessions. Le temple abrite de nombreuses statues et sculptures bouddhistes, ainsi qu'une grande pagode dorée qui surplombe le complexe.

Les visiteurs peuvent se promener dans les jardins du temple, qui sont joliment entretenus et offrent une vue imprenable sur la campagne thaïlandaise environnante. Il y a également un petit musée sur place, qui présente l'histoire et la signification du temple.

Si vous prévoyez de visiter le Wat Phra Phutthabat Tak Pha, il est recommandé de porter des vêtements modestes et de vous comporter de manière respectueuse pendant votre séjour. Le temple est un lieu sacré et il est important de respecter les traditions et les croyances des bouddhistes qui y viennent prier.

En ce qui concerne les avis des visiteurs, le Wat Phra Phutthabat Tak Pha a une excellente réputation. Sur Google My Business, il a reçu un total de 1115 avis, avec une note moyenne de 4.5/5. Les visiteurs ont loué la beauté du temple, la gentillesse du personnel et la tranquillité des jardins.

Avis de Wat Phra Phutthabat Tak Pha

Wat Phra Phutthabat Tak Pha - Pa Sang District, Lamphun
ธรรม บันดาล
5/5

คุณพ่อคุณแม่เคยพามาวัดนี้ตั้งแต่เด็ก ๆ ประมาณ 50 กว่าปีมาแล้ว และภายหลังก็ยังได้มากับคณะท่องเที่ยวบ้าง และคณะคุณอาคม ทัน​นิเทศ​อีกหลายครั้ง มากราบหลวงพ่อพระพุทธบาท​ตากผ้าเรียกท่านกันในสมัยนั้น ยังคิดถึงวันเก่า ๆ ที่ได้มากราบหลวงพ่อท่านที่มีเมตตากับญาติ​โยมอย่างมาก รับรู้ได้ถึงความเมตตาแห่งบารมีธรรม​ของท่านกันถ้วนหน้า
(พ. 18 ก.ย. 2567​)

วัดพระพุทธบาทตากผ้า วรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ 175 ไร่ ซึ่งเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ อยู่ใกล้ดอย (เขา) 2 ลูกคือ ดอยช้างและดอยเครือ อยู่ห่างจากเมืองลำพูนประมาณ 19 กิโลเมตร เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน หรือของภาคเหนือ

ปัจจุบัน วัดพระพุทธบาทตากผ้า วรวิหาร เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของการศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรม และบาลี ของพระภิกษุสามเณรในภาคเหนือ นอกจากนี้แล้ว ทางวัดได้จัดให้มีการปฏิบัติธรรมควบคู่ไปกับการศึกษา ได้จัดตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานขึ้น เพื่อเป็นที่ปฏิบัติธรรมสำหรับพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา และผู้สนใจทั่วไป

ตำนาน วัดพระพุทธบาทตากผ้า ได้กล่าวไว้ว่าในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธะเจ้าได้เสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ในดินแดนสุวรรณภูมิ (ประเทศไทยในปัจจุบัน) พระองค์ได้เสด็จไปในที่ต่าง ๆ กระทั่งเสด็จถึงบริเวณวัดพระพุทธบาทตากผ้าแห่งนี้ซึ่งเป็นผาลาด จึงได้ทรงอธิษฐานประทับรอยพระพุทธบาทลง ณ ที่แห่งนี้ เพื่อเป็นที่สักการบูชาของมวลเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายและพระองค์ได้ตรัสให้พระอานนท์เอาจีวรไปตากบนผาลาด ใกล้บริเวณที่ประทับ ซึ่งปรากฏเป็นรอยเลือนลางอยู่ ดังนั้น วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดพระพุทธบาทตากผ้า” มาถึงทุกวันนี้

ประมาณ พ.ศ. 1200 พระนางจามเทวี พระราชธิดาในพระเจ้ากรุงละโว้ (ลพบุรี) ได้เสด็จมาครองนครหริภุญชัย (ลำพูน) พระนางได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ให้สร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทเป็นพุทธบูชา

พ.ศ. 2472 ท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ได้รับอาราธนาจากคณะสงฆ์จังหวัดลำพูน ซึ่งมีพระครูพุทธิวงศ์ธาดา วัดฉางข้าวน้อยเหนือ เจ้าคณะอำเภอปากบ่อง (ป่าซาง) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมีหลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง โรจนกุล) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ได้ทำการก่อสร้างวิหารจัตุรมุขจนสำเร็จ

พ.ศ. 2375 ครูบาอาจารย์หลายท่าน โดยมีครูบาป๋า ปารมี วัดสะปุ๋งหลวง เป็นประธาน พร้อมด้วยทายก ทายิกา ได้ก่อสร้างวิหารหลังใหญ่ค่อมมณฑปไว้อีกชั้นหนึ่ง

พ.ศ. 2486 คณะสงฆ์ โดยมีพระญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน วัดพระยืน เป็นประธาน พร้อมด้วยข้าราชการ ประชาชน ได้อาราธนาท่านครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก วัดป่าหนองเจดีย์ ต.ท่าตุ้ม อ.ป่าซาง มาเป็นประธานอำนวยการก่อสร้าง และดูแลกิจการของวัด โดยมีพระอธิการศรีนวล อินฺทนนฺโท วัดช้างค้ำ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส

พ.ศ. 2502 ท่านครูบาพรหมา ได้เริ่มการพัฒนาวัดอย่างเต็มที่ โดยการลงมือทั้งก่อสร้างและซ่อมแซมถาวรวัตถุที่ทรุดโทรม เช่น พระวิหารจตุรมุข ได้ต่อเติมยอดมณฑปขึ้นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ก่อสร้างพระอุโบสถทั้งหลังเก่าและหลังใหม่ ศาลาการเปรียญทั้งหลังเล็กและหลังใหญ่ กุฏิแถว โรงเรียนพระปริยัติธรรม กำแพงวัดและอื่น ๆ เป็นที่ปรากฏอย่างที่เห็นใจปัจจุบัน

Wat Phra Phutthabat Tak Pha - Pa Sang District, Lamphun
Alongkorn Lang
4/5

เป็นวัดที่มีรอยพระพุทธบาทอยู่กลางวิหารและบริเวณรอบๆวิหาร มีวัตถุมงคลให้บูชา มีสถานีวิทยุกระจายเสียงอยู่ด้วย มีลานจอดรถกว้างขวาง สามารถเข้ามาเที่ยวได้สะดวก มาสักการะบูชาได้

Wat Phra Phutthabat Tak Pha - Pa Sang District, Lamphun
Varangkana M.
5/5

วัดพระพุทธบาทตากผ้า เดิมเป็นวัดราษฎร์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูนที่นี้สะอาดและเงียบสงบ

Wat Phra Phutthabat Tak Pha - Pa Sang District, Lamphun
นายวินัย หมื่นฯ
4/5

เป็นพระอารามหลวงสถานที่สงบเหมาะกับการปฏิบัติธรรม บนยอดเขาที่ขึ้นไปเห็นทิวทัศน์สวยงาม น่ามาศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมา มีความลึกลับน่าสนใจ

Wat Phra Phutthabat Tak Pha - Pa Sang District, Lamphun
Rattana Chirayukool
4/5

วัดพระพุทธบาทตากผ้านี้ถือกันว่ามีทั้งรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าที่มาประทับไว้ตรงบริเวณที่นำผ้าจีวรมาตากมีรอยตารางบนผาหินที่เชื่อว่าคือรอยตากผ้าจีวรพระพุทธเจ้า
วิหารจัตุรมุขครอบรอยพระพุทธบาท ภายในพระวิหารประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำนวน 2 รอย เราสามารถลงไปปิดทองได้
นอกจากรอยพระพุทธบาทที่อยู่ในวิหารแล้วยังมีรอยบาทเล็กๆอีก 3 รอยกับรอยบาทของโยคีอีก 1 รอยปรากฏอยู่ในบริเวณด้านนอกใกล้ๆวิหารนี้ โดยเฉพาะรอยบาทเล็กที่อยู่ด้านตะวันออกใกล้ๆพระวิหาร เป็นรอยพระบาทของพระอรหันต์อายุ 7 ขวบ
รอยตากผ้า เป็นเนินศิลารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีลักษณะเป็นตารางคล้ายจีวรพระ เป็นโบราณสถานที่มีมาก่อนการตั้งวัดพระพุทธบาทตากผ้า
อนุสาวรีย์พระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา) ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดยืนเด่นเป็นสง่า ท่านเป็นผู้พัฒนาวัดพระพุทธบาทตากผ้าจนเจริญ
ที่นี่ยังเป็นศูนย์การศึกษาพระปริยัติธรรม
เจดีย์สี่ครูบาหรือพระธาตุสี่ครูบา ตั้งอยู่บนเขาสูงเด่นเป็นสง่ามีบันไดศิลาแลงขึ้นไปข้างบน จำนวน 469 ขั้น สามารถขับรถขึ้นไปได้แต่เนื่องจากเราไปถึงช่วงเที่ยงอากาศร้อนมากจึงไม่ได้ขับขึ้นเขาไปสักการะ
เนื่องจากวัดมีบริเวณกว้างขวางมากอยากให้ทำป้ายบอกตำแหน่งของสถานที่สำคัญแต่ละจุดเพื่อสาธุชนผู้เดินทางมาสักการะ จะได้ไม่พลาดเมื่อมาถึงวัดแล้วค่ะ

Wat Phra Phutthabat Tak Pha - Pa Sang District, Lamphun
กษิดิ์เดช สินทอน
4/5

มากราบรอยพระพุทธบาท ขององค์สมณะโคดม เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิต

Wat Phra Phutthabat Tak Pha - Pa Sang District, Lamphun
Boy Anupong
5/5

อีกหนึ่งวัดสำคัญของเมืองลำพูน ในอดีตมีท่านพระครูบาพรหมา เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้พัฒนาวัดจนสวยงาม ปัจจุบันแม้ท่านมรณภาพไปนานแล้ว แต่เรายังสามารถมากราบหุ่นรูปเหมือนของท่าน และนมัสการรอยพระพุทธบาทและรอยตากผ้าจีวรของพระพุทธเจ้าตามตำนานได้ครับ ภายในวัดมีจุดน่าสนใจอยู่หลายๆจุด เที่ยวสักการะได้เพลินเลยครับ บนดอยหลังวัดมีพระธาตุเจดีย์ 4 ครูบาด้วย ขึ้นเขาไปนมัสการต่อได้ครับผม

Wat Phra Phutthabat Tak Pha - Pa Sang District, Lamphun
Thitinun PItak
5/5

วัดพระพุทธบาทตากผ้า ตั้งอยู่ระหว่างดอยม่อนช้างกับดอยเครือ นับถือกันว่าเป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าที่มาประทับไว้ตรงบริเวณที่นำผ้าจีวรมาตาก มีรอยตารางบนผาหินที่เชื่อว่าคือรอยตากผ้าจีวรพระพุทธเจ้า ตำนานเล่าว่า ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ หลังจาริกและประทับพระบาทในที่ต่างๆ แล้ว เมื่อเสด็จมาถึงบนลานผาลาด (คือบริเวณที่ตั้งวัดพระพุทธบาทตากผ้าปัจจุบัน) สถานที่ที่พระองค์ทรงตั้งพระทัยจะประดิษฐานปาทเจดีย์ จึงทรงหยุดพักผ่อน แล้วให้พระอานนท์นำเอาจีวรไปตากบนผาลาดใกล้กับที่ประทับ หลังจากนั้นทรงอธิษฐานเหยียบพระบาทประดิษฐานรอยไว้บนผาลาดนี้ และตรัสทำนายว่าสถานที่แห่งนี้จะปรากฏชื่อว่า “พระพุทธบาทตากผ้า”ได้กล่าวไว้ว่าในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธะเจ้าได้เสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ในดินแดนสุวรรณภูมิ (ประเทศไทยในปัจจุบัน) พระองค์ได้เสด็จไปในที่ต่าง ๆ กระทั่งเสด็จถึงบริเวณวัดพระพุทธบาทตากผ้าแห่งนี้ซึ่งเป็นผาลาด จึงได้ทรงอธิษฐานประทับรอยพระพุทธบาทลง ณ ที่แห่งนี้ เพื่อเป็นที่สักการบูชาของมวลเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายและพระองค์ได้ตรัสให้พระอานนท์ เอาจีวรไปตากบนผาลาด ใกล้บริเวณที่ประทับ ซึ่งปรากฏเป็นรอยเลือนลางอยู่ ดังนั้น วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดพระพุทธบาทตากผ้า” มาถึงทุกวันนี้

ปัจจุบัน ประวัติวัดพระพุทธบาทตากผ้า เดิมเป็นวัดราษฎร์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ และได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ ๑๗๕ ไร่ ซึ่งเป็นเนินเขาเตี้ยๆ อยู่ใกล้ดอย (เขา) ๒ ลูกคือ ดอยช้างและดอยเครือ อยู่ห่างจากเมืองลำพูนประมาณ ๑๙ กิโลเมตร เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน หรือของภาคเหนือ
ปัจจุบัน วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของการศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรม และบาลี ของพระภิกษุสามเณรในภาคเหนือ นอกจากนี้แล้ว ทางวัดได้จัดให้มีการปฏิบัติธรรมควบคู่ไปกับการศึกษา ได้จัดตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานขึ้น เพื่อเป็นที่ปฏิบัติธรรมสำหรับพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา และผู้สนใจทั่วไป

ที่ตั้ง : ตำบลมะกอก อำเภอป่าซา จังหวัดลำพูน
ที่มา: จังหวัดลำพูน

บทสุป เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์มีประวัติศาสตร์ควรมาสักการะเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต วัดกว่างขวางสวยสมเดินทางสะดวก

Go up